ติดตามอีเว้นท์ใหม่ๆได้ทาง Facebook

APPEAR นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

APPEAR นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

  30 ส.ค. 2559

ไฮฟ์สเตอร์ผนึกกำลัง “UNDP”,  “ทททและกทมเปิดโครงการ
แอพเพียร์​ [APPEAR] นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนปัดฝุ่นชุมชนที่ถูกลืมปรากฎตัว อวดโฉมเดสติเนชั่นใหม่ในตลาดโลก

  • จับ “นวัตกรรม” เสริม “จุดแข็ง” สร้าง “จุดขาย” พัฒนา “แพคเกจการท่องเที่ยวชุมชนนวัตกรรมใหม่” ดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ดัน “การท่องเที่ยว” พลิกฟื้น “เศรษฐกิจชุมชน” นำร่อง เปิดตัว “6 คู่ข่ายโรงแรม-ชุมชน” ในเขตกรุงเทพมหานคร

ไฮฟ์สเตอร์ (Hivesters) กิจการเพื่อสังคม ผนึกกำลัง 3 หน่วยงานพันธมิตร โครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (UNDP: United Nations Development Program) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  และสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเทียว กรุงเทพมหานคร (กทม) เปิดตัวโครงการแอพเพียร์​ [APPEAR] นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนพลิกฟื้นเศรษฐกิจชุมชน ผ่านการสร้างเครือข่าย “Alliance of Good Neigbours”  หรือคู่ข่ายโรงแรม-ชุมชน”  นวัตกรรมทางสังคมที่มุ่งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในธุรกิจโรงแรม และชุมชนที่ถูกลืมในถิ่นฐานย่านละแวกโรงแรม ประเดิมโครงการแปีแรก นำร่องพัฒนา “6 คู่ข่ายโรงแรม-ชุนชน”  ร่วมพัฒนาแพคเกจการท่องเที่ยวชุมชนวัตกรรมใหม่”  ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงชาวต่างชาติสู่ชุมชน เสริมความแข็งแกร่ง และสร้างจุดขายใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการโรงแรมของไทย  ควบคู่ไปกับการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชม พลิกฟื้นเศรษฐกิจชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ต่อยอดสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

นางสาว อชิราญา ธรรมปริพัตรา ผู้ก่อตั้ง ไฮฟ์สเตอร์ (Hivesters) กิจการเพื่อสังคม กล่าวถึงที่มาของโครงการแอพเพียร์ [APPEAR] นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนว่า “การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของสังคมเมืองที่แผ่ขยายเข้ามาสร้างความเจริญให้กับประเทศของเราในหลากมิติ กลับสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับ “ชุนชนเก่าแก่” โดยที่เราไม่คาดคิด ลดทอนบทบาทเดิมของชุมชน บดบัดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีเฉพาะแต่ละชุมชนให้ค่อยๆ เลือนหายไป จนกลายเป็น “ชุมชนที่ถูกลืม” ส่งผลชุมชนไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ท่ามกลางความเจริญที่เกิดขึ้น หนุ่มสาวและคนรุ่นใหม่ต้องออกจากถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อออกไปหางานทำในต่างถิ่น และก่อให้เกิดปัญหาสังคมในแต่ละชุมชน และในที่สุดก็จะสะท้อนกลับมาเป็นปัญหาสังคมในระดับประเทศตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

“ไฮฟ์สเตอร์ กิจการเพื่อสังคม จึงได้ริเริ่ม”โครงการแอพเพียร์ [APPEAR] นวัตกรรมทางสัมคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยได้รับการสนับสนุนจาก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (UNDP) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  และสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเทียว กรุงเทพมหานคร (กทม) เพื่อร่วสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในชุมชน และพลิกฟื้นเศรษฐกิจชุมชนให้กลับเข้มแข็งเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน”

โครงการแอพเพียร์ [APPEAR] นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้ “ชุมชนที่ถูกลืม” ให้กลับมามีศักยภาพและสามารถเลี้ยงดูตัวเอง  ลดความเหลื่อมล้ำที่กำลังกลายประเด็นทางสังคม และร่วมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนในแนวทางสร้างสรรค์ผ่านการสร้างเครือข่ายพันธมิตร หรือ Alliance of Good Neighbours หรือคู่ข่ายโรงแรม-ชุมชนระหว่างผู้ประกอบการภาคโรงแรมและชุมชนในถิ่นฐานย่านละแวก พัฒนาความร่วมมือสู่นวัตกรรมทางสังคม ร่วมกันจัดทำ แพคเกจการท่องเที่ยวชุมชนนวัตกรรมใหม่”  นำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของชุมชนที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ภายในกรอบการดำเนินงานที่จะต้องรักษาวัฒนประเพณีดั้งเดิม คงไว้ซึ่งเสน่ห์และอัตลักษณ์ของชุมชน และจะต้องร่วมส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในทุกมิติ เพื่อเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่จะต่อยอดให้ชุมชน สังคม และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตอย่างเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

ทางด้าน นายมาร์ติน ฮาร์ท แฮนเซ่น รองผู้แทน โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “ยูเอ็นดีพี มีเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งหวังการก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกจากการพัฒนาไปยังทุกภาคส่วนและไปยังประชาชนในวงกว้างที่สุด และเราตระหนักว่า การท่องเที่ยวถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศของไทย ทั้งนี้การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจะขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้ผลลัพธ์จากการท่องเที่ยวได้สร้างผลกระทบเชิงบวกสู่สาธารณชนในวงกว้าง และสามารถช่วยแก้ปัญหาสังคมของชุมชนพร้อมกันไป”

“โดยสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการผสมผสานศักยภาพที่หลากหลาย อาทิ ภาคเอกชน ที่มีศักยภาพในการดึงนักท่องเที่ยว และมี องค์ความรู้ในด้านจัดการการท่องเที่ยว และอยากเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสังคม ภาครัฐที่มีหน้าที่จัดบริการสาธารณะต่างๆให้แก่ชุมชน และบริหารจัดการพื้นที่  และองค์กรระหว่างประเทศที่สามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในและนอกประเทศ  การร่วมตัวกันในรูปแบบ พันธมิตรเพื่อนบ้าน ระหว่างโรงแรมและเอกชน โดยความร่วมมือจากรัฐ  จึงเปรียบเสมือนนวัตกรรมทางสังคม ที่ทำให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกันสร้างการท่องเที่ยวที่ผลประโยชน์ตกแก่ชุมชนมากที่สุด   ขณะเดียวกันก็ยังช่วยทำให้เอกลักษณ์ต่างๆ ในชุมชน ที่กำลังจะเลือนหาย ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้”

ด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการว่า “ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะได้รับการคัดเลือกจากนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกและยกย่องให้กรุงเทพมหานครเป็น “เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก” หรือ “World’s Best City” มาหลายปี ในด้านความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับความหลากหลายของความบันเทิง และความเจริญของสังคมเมือง แต่ชุมชนเก่าแก่ต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครกลับเผชิญกับปัญหาความขัดสนทางด้านเศรษฐกิจ และชุมชนเก่าที่มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์และดีงามกำลังเลือนหาย เนื่องด้วยเพราะชาวบ้านในชุมชนยังมีทักษะที่จำกัดในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน”

“การดำเนินงานของโครงการแอพเพียร์​ [APPEAR] นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน สอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มุ่งไปสู่ความมั่นคง (Stability) ความมั่นคั่ง (Prosperity) และความยั่งยั่น (Sustainability) ในอนาคต ตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 - 2560 เพื่อขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน สามารถสร้างความสมดุลของการท่องเที่ยวจากการเพิ่มรายได้ และมีการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังชุมชนและท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ควบคู่ไปกับการเพิ่มศักยภาพและสร้งข้อได้เปรียบในการแข่งขันให้กับบุคลลากร และผู้ประกอบการ และชุมชน เพื่อยกระดับให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางเพื่อการเดินทางมาพักผ่อนที่มีคุณภาพ (Quality Leisure Destination)”

โครงการแอพเพียร์ [APPEAR] นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เริ่มต้นดำเนินโครงการปีแรกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครเป็นโครงการนำร่องก่อนที่ขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ในระยะต่อไป มีแนวทางการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน แบ่งช่วงระยะเวลาของการดำเนินงาน ออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 นวัตกรรมทางความคิด การดำเนินในระยะที่หนึ่งไฮฟ์สเตอร์ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยได้เริ่มดำเนินการในระหว่างเดือนตุลาคม 2558 - กรกฎาคม 2559 และผลการดำเนินงานสร้างความร่วมมือสู่คู่ข่ายความร่วมมืิอระหว่างชุมชนและโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 6 คู่ ได้แก่ 1) ชุมชนนางเลิ้ง และกลุ่มโรงแรมสุโกศล 2) ชุนชนบางลำภู และกลุ่มโรงแรมในเครือ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป 3) ชุมชนบ้านบุ และโรงแรมเชอราตัน แกรนด์​ สุขุมวิท 4) ชุมชนเกาะศาลเจ้า และโรงแรมสุโขทัย 5) ชุมชนบางกระดี่ และโรงแรมอนัตรา ริเวอร์ไซต์ รีสอร์ท และ 6) ชุมชนหัวตะเข้ และโรงแรมบันยันทรี กรุงเทพฯ

ระยะที่ 2 ต่อยอด สร้างสรรค์ และพัฒนา  ระยะเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 เป็นต้นไป  เพื่อดำเนินงานโดยใช้ผลลัพธ์จากนวัตกรรมทางความคิดที่เกิดขึ้นโดยคู่ข่ายโรงแรมและชุมชนและละคู่เพื่อนำมาต่อยอด สร้างสรรค์ และพัฒนาสู่สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวจากชุมชน เพื่อให้นำเสนอให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สู่แพคเกจการตลาดที่เกิดจากนวัตกรรมความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ต่อยอดสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนและโรง และสร้างผลกระทบเชิงบวกสร้างสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

ทางด้านนายระพีพัฒน์ เกษโกศล หัวหน้ากลุ่มงาน พัฒนาการท่องเที่ยว กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเทียว กรุงเทพมหานคร  กล่าวว่าถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะเป็นเมืองหลวงของประเทศและเป็นศูนย์กลางความเจริญในทุก ๆ ด้าน ของประทศ ไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว สาธารณสุข การศึกษา หรืออื่น ๆ ก็ต้องเผชิญหน้ากับสภาวะการณ์เดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันหลายชุมชนเก่าแก่ในเขตกรุงเทพมหานครก็กำลังจะกลายเป็น “ชุมชนที่ถูกลืม” เช่นเดียวกัน และโครงการแอพเพียร์ [APPEAR] นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนไม่เพียงแต่จะเป็นโครงการที่จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับกรุงเทพมหานคร หากแต่ยังเป็นโครงการดีดีที่สร้างสรรค์ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในธุรกิจโรงแรมและชุมชน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ไปจนถึงช่วยลดปัญหาสังคมในชุมชน วางรากฐากการพัฒนาให้ชุมชนเติบโตได้อย่างมั่นคง มีรายได้มั่งคั่ง และสร้างเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน”

“ไฮฟ์สเตอร์ หวังว่า โครงการแอพเพียร์ [APPEAR] นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจชุมชน และลดความเหลื่อมล้ำให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน และสร้างผลกระทบเชิงบวกในการสร้างความตระหนักรู้ต่อประเด็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดขึ้นกับ “ชุมชนที่ถูกลืม” ต่อยอดสู่การสนับสนุนสาธาณะต่อโครงการ กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต และให้ทุกภาคส่วนร่วมกันส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นเก่าแก่ที่กำลังจะกลายเป็น “ชุมชนที่ถูกลืม” ให้กลับมาปรากฎสู่ “สายตา” ของเราคนไทย ไปพร้อมๆ กับ การประกาศศักยภาพ แสดง “ความภาคภูมิจของไทย” ให้ปรากฎสู่สายตาชาวต่างชาติต่อไป ตามแนวคิดของโครงการที่ว่า  “APPEAR: They’re appearing.....together we can make them appear.” นางสาวอชิรญา กล่าวทิ้งท้าย

 

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Website : www.hivesters.com
Facebook : hivesters

 

 

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจได้ทาง Facebook


แสดงความคิดเห็น / ประชาสัมพันธ์

   แนะนำให้อ่าน

ติดตามอีเว้นท์ใหม่ๆได้ทาง Facebook